Homeเกษตรไทย , บ้านท่าเตียน , ปลาดุก , ปลาดุกร้า � 'ปลาดุกร้า' ความอร่อยระดับ 5 ดาว จากบ้านท่าเตียน

Advertisements / พื้นที่โฆษณา
รักอาชีพ : ความอร่อยระดับ 5 ดาว กับปลาดุกร้าที่บ้าน "ท่าเตียน" ที่ในวันนี้รักอาชีพ อยากจะนำเสนอข้อมูลดี ๆ ของชาวเกษตรกร โดยการนำของ ลุงช่วง ชูเมือง ชายวัย 60 ปีเศษ ต.แหลม อ.หัวไทร จ.นครศรีธรรมราช ที่จากปลาดุกธรรมดา สู่ตลาดแปรรูปด้วยวิธีการถนอมอาหาร ที่มีสูตรเฉพาะตัว จนทำให้ปลาดุกร้าของกลุ่ม ไม่ได้ขายดีแค่นี้ภาคใต้เท่านั้น แต่ยังขายดีในทุก ๆ ภาคทั่วไทยกันเลยทีเดียว
ปลาดุกร้า ความอร่อยระดับ 5 ดาว จากบ้านท่าเตียน
การนำปลาดุกออกตาแดดให้แห้ง

ลุงช่วงได้เล่าอดีตให้ฟังถึงที่มาของการตั้งกลุ่มว่าเมื่อ 5 ปีที่ผ่านมา ชาวบ้านส่วนใหญ่ยึดอาชีพเลี้ยงปลาดุกส่งขายตามตลาดสด ช่วงแรกขายได้ราคาดี แต่ต่อมาราคาลดลง มีปัญหาเรื่องตลาด ตนในฐานะผู้เลี้ยงปลาดุก และประสบปัญหาดังกล่าว จึงรวมกลุ่มผู้ร่วมชะตากรรมจัดตั้งเป็นกลุ่มปลาดุกร้าบ้านท่าเตียน เริ่มแรกมีสมาชิก 15 คน โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณการดำเนินงานจาก อบต.แหลม เป็นเงินจำนวน 1 แสนบาท

ผลิตภัณฑ์ปลาดุกร้าของกลุ่ม ลุงช่วงยอมรับว่าแรกๆ รสชาติยังไม่เข้าที่ ต่อเมื่อภายหลังได้ปรับปรุง กระทั่งเป็นสูตรเฉพาะต้นตำรับความอร่อยจึงเป็นที่รู้จักของลูกค้ามากขึ้นและกลายเป็นสินค้าที่ผลิตออกจำหน่าย ซึ่งไม่เฉพาะส่งขายในนครศรีธรรมราชเท่านั้น แต่ยังส่งขายข้ามจังหวัดทั่วภาคใต้ จนผลิตไม่ทันตามความต้องการของผู้บริโภค

เทคนิคการผลิตปลาดุกร้า ที่ลุงช่วงได้เผยว่า เมื่อได้ปลาดุกมาแล้ว ก็ให้นำมาตัดหัวออก จากนั้นค่อยนำไปคลุกกับเกลือที่ผสมน้ำตาลในสัดส่วนที่เหมาะสมตามตำรับดั้งเดิม หมักไว้ในกะละมัง 3 วัน ค่อยนำออกตากแดด 3 แดด เมื่อแห้งสนิทจึงค่อยนำไปแพ็กเตรียมจำหน่ายขายต่อไป

"การปรุงนั้นไม่ยาก เพียงแต่นำไปทอดในกระทะที่น้ำมันไม่ร้อนมากนัก ทอดแบบใจเย็นๆ ไม่นานก็จะสุก ก็จะได้ปลาร้าที่กลิ่นหอมกรุ่น นุ่มอร่อย กินกับข้าวสวย แก้มผักน้ำพริก อร่อยลงตัวทีเดียว"

ปัจจุบันกลุ่มปลาดุกร้าท่าเตียนของลุงช่วงได้รับเครื่องหมายรับรองคุณภาพห้าดาว! จากกรมพัฒนาชุมชน พร้อมยึดหลักการผลิตและจำหน่ายตามความต้องการของตลาด โดยกลุ่มจะผลิตสินค้าสัปดาห์ละครั้ง ครั้งละ 500 กิโลกรัม รวมแต่ละเดือนจะใช้ปลาดุกผลิต 2,000 กิโลกรัม และจะได้ปลาดุกร้า 600 กิโลกรัม จำหน่ายหมดใน 1 เดือน ไม่มีปัญหาตกค้างหรือเหลือการจำหน่ายจนสร้างภาระขาดทุนให้แก่กลุ่ม ขณะที่ในส่วนของหัวปลา ซึ่งเป็นเศษเหลือจากการทำปลาดุกร้า กลุ่มก็ไม่ได้ทิ้งโดยเปล่าประโยชน์ จะนำมาทำเป็นปุ๋ยหมักชีวภาพ สำหรับใช้กับพืชต่างๆ ต่อไป

นี้ก็เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างความสำเร็จ ของชาวเกษตรกรบ้านท่าเตียน ที่รวมกลุ่มกันเพื่อสร้างอาชีพ สร้างผลิตภัณฑ์ให้แก่ชุมชน จนมีรายได้ให้แก่สมาชิกได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็ด้วยความสามัคคีของคนในชุมชน และที่สำคัญนั่นก็คือ ลุงช่วง ที่ไม่เพียงแต่เป็นผู้ประชาสัมพันธ์ปลาดุกร้าเท่านั้น แต่ยังคอยแก้ปัญหาเรื่องตลาดอีกด้วย

หากท่านใดสนใจ หรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อได้ที่ :
โทร. 08- 6942- 9905 | 08- 5782- 2730
เรียบเรียงใหม่
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : คมชัดลึก

0 comments

Leave a Reply | คอมเม้นท์