Advertisements / พื้นที่โฆษณา
ที่ว่าแปลก เพราะร้านนี้ไม่ง้อลูกค้า วันหนึ่งขายแค่ 100 ชาม ครบเมื่อไรก็ปิดร้านทันที ตามคอนเซ็ปต์ของชื่อร้านชื่อที่ 2 “ก๋วยเตี๋ยว 100 ชาม” ซึ่งเป็นที่รู้จักในหมู่ลูกค้า ที่ว่าต่าง เพราะไม่เน้นกลยุทธ์เรื่องราคาที่ต้องถูกกว่า ก๋วยเตี๋ยวร้านนี้จึงมีราคาสูงถึงชามละ 130 บาท และที่ธนา กล้าที่จะแปลก กล้าที่จะต่าง ก็เพราะมั่นใจในคุณภาพของวัตถุดิบ ที่เป็นเนื้อวัวเกรด A ที่คัดมาเป็นพิเศษอย่างเนื้อโกเบ และเนื้อมัตสึซากะ ที่มีความเป็นมาแตกต่างจากเนื้อวัวทั่วๆ ไป แล้วใช้จุดเด่นตรงนี้สร้างการตลาดแบบการเล่าเรื่องขึ้นมา เพื่อเป็นตัวกลางให้ผู้บริโภค เกิดความสนใจและประทับใจในตัวสินค้า จนเกิดการบอกต่อ จาก Word of Mouth ก็กลายเป็น Talk of The Town ไปในที่สุด | ||||
“เมื่อเริ่มต้นจะทำธุรกิจ ที่ผมต้องการจะเห็นก็คือเงิน 100 ล้าน และผมมองว่าร้านก๋วยเตี๋ยวสามารถตอบสนองความต้องการได้ เลยตกลงใจว่าจะทำร้านก๋วยเตี๋ยวเนื้อวัว เพราะชอบกินเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ที่ไหนมีเนื้อวัวอร่อย ผมตามไปกินมาหมด พอตั้งใจจะทำร้านก๋วยเตี๋ยว ผมใช้เวลาในการเตรียมตัว และหาข้อมูลอยู่ประมาณ 1 ปี ตระเวนชิมก๋วยเตี๋ยววันเว้นวัน จนแค่ชิมดูก็รู้แล้วว่าใส่ส่วนผสมอะไรเพิ่มเข้ามาบ้าง เช่น กระเทียม กระชาย บางอันชิมแล้วไม่รู้ ถึงขนาดไปค้นดูในถังขยะว่าเขาทิ้งอะไรบ้าง เมื่อได้ส่วนผสมแล้ว ผมก็เอามาปรับทำในสูตรตัวเอง ก่อนเปิดร้านลองทำก๋วยเตี๋ยวมาแล้วประมาณ 80 หม้อ แล้วก็เรียกเพื่อนๆ ให้มาช่วยกันชิม ช่วยกันวิจารณ์ เพื่อนชิม 10 คน บอกว่าอร่อย 8 คน ไม่อร่อย 2 คน อย่างนี้ถือว่าสอบผ่าน เพราะจะให้ 10 คนชอบเหมือนกัน คงเป็นไปไม่ได้" | ||||
จากนั้น ธนาได้สร้างโมเดลธุกิจของตัวเองขึ้น เขาเรียกมันว่า “Noodle Model” เพื่อสร้างความแตกต่าง และอำนาจในการแข่งขัน "ใน Noodle Model" จะ เริ่มจากเรื่องของโปรดักส์ อย่างแรกคุณต้องรู้ว่า position ตัวเองอยู่ตรงไหนของตลาด อย่างที่สองคุณแตกต่างจากเจ้าอื่นที่มีอยู่ในตลาดอย่างไร พอได้สองอย่างนี้มาแล้ว จะมองเห็นเลยว่าทาร์เก็ตกรุ๊ปของคุณคือใคร บางทีคุณไปมองทาร์เก็ตกรุ๊ปก่อน แต่ผมมองโปรดักส์ก่อน แล้วค่อยมองทาร์เก็ตกรุ๊ป จากนั้นถึงค่อยมากำหนดราคา ผมว่าคนไทยเป็นโรคบ้า ซื้อกระเป๋าใบหนึ่งราคา 600,000 บาท ถามว่าถือแล้วบินได้ไหม ก็เปล่า แต่ใจบินไปแล้วเรียบร้อย เพราะว่ามันมีราคา มันหาซื้อได้ยาก มันเลยมีความพิเศษ เพิ่มอีโก้ให้กับผู้ซื้อ ผมใช้หลักการเดียวกันนี้ในการทำร้านก๋วยเตี๋ยว ผมเลือกใช้เนื้อวัวที่ได้ชื่อว่าดีที่สุดในโลก เนื้อโกเบ กับเนื้อวากิว เมื่อร้านเริ่มเป็นที่รู้จัก จะเริ่มเกิดคำถามว่า ไปลองกินเนื้อโกเบ เนื้อวากิวมาหรือยัง พอเจอเพื่อนถาม ก็จะเริ่มรู้สึกว่าตัวเองเชย ที่ยังไม่เคยลอง ถึงไม่ได้ชอบเนื้อวัวเป็นพิเศษ แต่ก็จะต้องลองมากิน ชอบไม่ชอบอีกเรื่อง | ||||
เรื่องราวที่ธนาถ่ายทอดลงไป เริ่มจากตำนานของเนื้อโกเบและเนื้อมัสสึซากะ เนื้อโกเบนั้นเริ่มเป็นที่รู้จักตอนที่เมืองโกเบเริ่มเปิดท่าเรือพาณิชย์ เป็นครั้งแรกในปี ค.ศ.1868 และร่ำลือกันว่าเป็นเนื้อชั้นดี นุ่มน่ารับประทาน จนได้ชื่อว่าเป็น Queen of Beef ส่วนเนื้อมัตสึซากะนั้นได้ชื่อว่าเป็น King of Beef เลย ทีเดียว วัวสายพันธุ์ดังกล่าวพบที่หุบเขาทาจิมะ อยู่ห่างจากเมืองมัตสึซากะไป 150 กม. คนญี่ปุ่นเชื่อกันว่ามีต้นกำเนิดมาจากเทพเจ้าชื่ออาเมะ โนะ ฮิโมโกะ ในยุคก่อนประวัติศาสตร์กำเนิดญี่ปุ่นประมาณ 500 ปี เทพเจ้าอาเมะ ได้พันธุ์วัววากิวมาจากแดนไกล แล้วนำมาเลี้ยงในหุบเขาทาจิมะ เมืองมัสสึซากะ จนกลายเป็นสายพันธุ์ของเนื้อวัวชั้นเลิศของโลก | ||||
ขั้นตอนต่อไปคือการ Progress กระบวนการที่จะทำให้ มันโตต่อไปได้ ผมใส่ใจกับทุกรายละเอียด อย่างเนื้อวากิวขายชามละ 130 บาท คุณใส่ชามสแตนเลส มาพร้อมตะเกียบพลาสติกและช้อนสังกะสี ลูกค้าบอกเสียตังค์ 130 ได้แค่นี้เองเหรอ เรื่องเหล่านี้อย่าคิดว่าไม่สำคัญ การทำร้านอาหาร นอกจากอาหารอร่อย และความสะอาดแล้ว องค์ประกอบร้าน ตั้งแต่เฟอร์นิเจอร์ ไปจนถึงภาชนะต่างๆที่เลือกใช้ สามารถสร้างบรรยากาศ ช่วยให้ลูกค้ามีความสุขในการทานอาหารมากขึ้น ผมยังเล่นกับความมีอีโก้ของคน สมมติไปกินก๋วยเตี๋ยวกัน 2 คน ตัวเองสั่งไทย-เฟรนช์ ก็จะใส่ถ้วยลามิเนตธรรมดา ช้อนก็ธรรมดา ส่วนเนื้อโกเบเวลาเสิร์ฟจะเพิ่มลูกเล่นราดน้ำซุปร้อนๆลงไป หลังจากยกมาวางที่โต๊ะลูกค้าแล้ว ทำให้เนื้อที่ได้สุกประมาณ medium rare หรือเนื้อวากิว ที่เสิร์ฟพร้อมโถน้ำซุป ให้ลูกค้าราดเอง เพราะแต่ละคนชอบระดับความสุกของเนื้อไม่เท่ากัน ตรงนี้เพื่อสร้างความแตกต่าง เหมือนเป็นจิตวิทยา ลูกค้ามองเห็นเนื้อที่โดนน้ำซุปราดกำลังเปลี่ยนสี ทำให้รู้สึกว่าน่ากิน และเป็นของมีราคา เหมือนสะกดจิตลูกค้าไปในตัวว่าก๋วยเตี๋ยวตัวท็อปของผมอร่อยและไม่เหมือนใคร อยากกินต้องมาที่นี่ แม้แต่ชามที่ใส่ก๋วยเตี๋ยว ผมก็ยังชูจุดเด่นโดยเล่าเรื่องที่มาของถ้วยว่าไปเจอที่จังหวัดลำปาง เขียนลวดลายโดยอาจารย์ประยงค์ ศิลปินแห่งชาติ ทำให้ลูกค้ารู้สึกว่าเป็นของดี และมีคุณค่าแตกต่างจากก๋วยเตี๋ยวทั่วๆไป | ||||
“หลักในการตั้งชื่อร้านของผม คือต้อง SER S คือ Simply การตั้งชื่อร้านให้มันเรียกง่ายๆ อันที่สอง E คือ Easy ต้องฟังแล้วเข้าใจง่าย ว่าร้านนี้ขายอะไร และสุดท้าย R คือ Remind นอกจากชื่อร้านที่เรียกง่าย เข้าใจง่ายแล้ว คนยังต้องจดจำได้ง่ายด้วย ไม่ใช่ไปตั้งชื่อให้วิจิตรพิศดาร ชื่อร้านผม เนื้อทอง ไก่เงิน เรียกง่าย จำง่าย สื่อความหมาย แต่ ไม่ส่งผลทางด้านการตลาดเลย จึงต้องมีชื่อร้านชื่อที่สอง เพื่อการจดจำ เป็นสัญลักษณ์ของแบรนด์และง่ายต่อการสื่อสารการตลาด ชื่อที่สองต้องจำง่ายและมีนัยยะ จนมาลงตัวที่ ก๋วยเตี๋ยว 100 ชาม ทุก คนพอได้ยินชื่อร้านก๋วยเตี๋ยว 100 ชาม จะต้องสงสัยแล้วว่าขายก๋วยเตี๋ยวอะไร แล้วอะไรคือ 100 ชามพอเริ่มสงสัย ก็จะเริ่มหาข้อมูล เริ่มรู้สึกอยากมา การทำตลาดในยุคนี้ต้องให้ท้าทายเข้าไว้ ถ้าผมทำประชาสัมพันธ์บอกเปิดร้านก๋วยเตี๋ยวเนื้อ รสชาติดี ราคาไม่แพง ใครจะสนใจ แต่ผมท้าทายคนกินเลย วันหนึ่งผมขายแค่ 100 ชามเท่านั้นนะ มาช้า คุณก็อดกิน | ||||
| ||||
ด้วยความสำเร็จดังกล่าว ธนามองหาลู่ทางในการขยายกิจการก๋วยเตี๋ยว 100 ชามต่อไป โดยมองไปที่การเปิดสาขาเพิ่มที่ Villa Market ตามสาขาต่างๆ ซึ่งกำลังอยู่ในช่วงการเจรจาทางธุรกิจ นับว่า “ก๋วยเตี๋ยว 100 ชาม” เป็นอีกธุรกิจที่ประสบความสำเร็จจากการทำตลาดแบบ Storytelling และธนา เจ้าของร้านเองก็ยังมีมุมมอง และไอเดียทางธุรกิจที่น่าศึกษา และเป็นต้นแบบให้กับ SMEs รายอื่นได้ *****ข้อมูลโดย นิตยสาร SMEs Plus ฉบับประจำเดือนกรกฏาคม 2553********* ขอขอบคุณข้อมูลจาก : Manager Online |
ขออนุญาตแนะนำงานทำที่บ้านปี 2557 http://xn--12cma6dlb6dddb6b8bzdwacbf0d1m1fyd.blogspot.com/2013/07/nganrahwangreiynthibanyamwang.html